บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2018

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศในสมัยอยุธยา

รูปภาพ
ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ            อาณาจักรอยุธยามักส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีนเป็นประจำทุกสามปี เครื่องบรรณาการนี้เรียกว่า "จิ้มก้อง" นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าการส่งเครื่องราชบรรณาการดังกล่าวแฝงจุดประสงค์ทางธุรกิจไว้ด้วย คือ เมื่ออาณาจักรอยุธยาได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายแล้วก็จะได้เครื่องราชบรรณาการกลับมาเป็นมูลค่าสองเท่า ทั้งยังเป็นธุรกิจที่ไม่มีความเสี่ยง จึงมักจะมีขุนนางและพ่อค้าเดินทางไปพร้อมกับการนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายด้วย อาณาจักรอยุธยามีความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกในด้านการค้าขายและการเผยแผ่ศาสนา โดยชาวตะวันตกได้นำเอาวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามาด้วย ต่อมา คอนสแตนติน ฟอลคอนได้เข้ามามีอิทธิพลและยังมีหลักฐานว่าคบคิดกับฝรั่งเศสจะยึดครองกรุงศรีอยุธยา บรรดาขุนนางจึงประหารฟอลคอนเสีย และลดระดับความสำคัญกับชาติตะวันตกตลอดช่วงเวลาที่เหลือของอาณาจักรอยุธยา

ระบบไพร่ในสมัยอยุธยา

รูปภาพ
ระบบไพร่         อาณาจักรอยุธยามีการใช้ระบบไพร่อันเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างมากเมื่อเทียบกับสมัยสุโขทัย โดยกำหนดให้ชายทุกคนที่สูงตั้งแต่ 1.25 เมตรขึ้นไปต้องลงทะเบียนไพร่ ไพร่จะต้องทำงานที่ได้รับมอบหมายเดือนเว้นเดือน โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือเสบียงอาหารใด ๆ ระบบไพร่มีความสำคัญต่อการรักษาอำนาจทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ เพราะหากมีการเบียดบังไพร่โดยเจ้านายหรือขุนนางไว้เป็นจำนวนมากแล้ว ย่อมส่งผลต่อเสถียรภาพของราชบัลลังก์ได้ ตลอดจนส่งผลให้กำลังในการป้องกันอาณาจักรก็จะอ่อนแอ ไม่เป็นปึกแผ่น นอกจากนี้ ระบบไพร่ยังเป็นการเกณฑ์แรงงานเพื่อใช้ประโยชน์ในโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานชีวิตและความมั่นคงของอาณาจักร

ภาษาในสมัยอยุธยา

ภาษา          สำเนียงดั้งเดิมของกรุงศรีอยุธยามีความเชื่อมโยงกับชนพื้นเมืองตั้งแต่ลุ่มน้ำยมที่เมืองสุโขทัยลงมาทางลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกในแถบสุพรรณบุรี, ราชบุรี,เพชรบุรี ซึ่งสำเนียงดังกล่าวมีความใกล้ชิดกับสำเนียงหลวงพระบาง โดยเฉพาะสำเนียงเหน่อของสุพรรณบุรีมีความใกล้เคียงกับสำเนียงหลวงพระบาง ซึ่งสำเนีงเหน่อดังกล่าวเป็นสำเนียงหลวงของกรุงศรีอยุธยา ประชาชนชาวกรุงศรีอยุธยาทั้งพระเจ้าแผ่นดินจนถึงไพร่ฟ้าราษฏรก็ล้วนตรัสและพูดจาในชีวิตประจำวัน ซึ่งปัจจุบันเป็นขนบอยู่ในการละเล่นโขนที่ต้องใช้สำเนียงเหน่อ โดยหากเปรียบเทียบกับสำเนียงกรุงเทพฯในปัจจุบันนี้ ที่ในสมัยนั้นถือว่าเป็นสำเนียงบ้านนอกถิ่นเล็กๆของราชธานีที่แปร่งและเยื้องจากสำเนียงมาตรฐานของกรุงศรีอยุธยา และถือว่าผิดขนบ            ภาษาดั้งเดิมของกรุงศรีอยุธยาปรากฏอยู่ในโองการแช่งน้ำ ซึ่งเป็นร้อยกรองที่เต็มไปด้วยฉันทลักษณ์ที่แพร่หลายแถบแว่นแคว้นสองฝั่งลุ่มแม่น้ำโขงมาแต่ดึกดำบรรพ์ และภายหลังได้พากันเรียกว่าโคลงมณฑกคติ เนื่องจากเข้าใจว่าได้รับแบบแผนมาจากอินเดีย ซึ่งแท้จริงคือโคลงลาว หรือ โคลงห้า ที่เป็นต้นแบบของโคลงดั้นและโคลงสี่สุภาพ โดยใ

ประชากรศาสตร์ในอยุธยา

ประชากรศาสตร์ ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 อาณาจักรอยุธยามีประชากรประมาณ 1,900,000 คน ซึ่งนับชายหญิงและเด็กอย่างครบถ้วน แต่ลาลูแบร์กล่าวว่า ตังเลขดังกล่าวน่าจะไม่ถูกต้องเนื่องจากมีผู้หนีการเสียภาษีอากรไปอยู่ตามป่าตามดงอีกมาก มีกลุ่มชาติพันธุ์หลักคือไทยสยาม ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาไท-กะได ซึ่งบรรพบุรุษของไทยสยามปรากฏหลักแหล่งของกลุ่มคนที่ใช้ภาษาตระกูลไท-กะไดเก่าแก่ที่สุดอายุกว่า 3,000 ปี ซึ่งมีหลักแหล่งแถบกวางสี คาบเกี่ยวไปถึงกวางตุ้งและแถบลุ่มแม่น้ำดำ-แดงในเวียดนามตอนบน ซึ่งกลุ่มชนนี้มีความคลื่นไหวไปมากับดินแดนไทยในปัจจุบันทั้งทางบกและทางทะเลและมีการคลื่นไหวไปมาอย่างไม่ขาดสาย ในยุคอาณาจักรทวารวดีในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงหลังปี พ.ศ. 1100 ก็มีประชากรตระกูลไทย-ลาว เป็นประชากรพื้นฐานรวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นกลุ่มชนอพยพลงมาจากบริเวณสองฝั่งโขงลงทางลุ่มน้ำน่านแล้วลงสู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฟากตะวันตกแถบสุพรรณบุรี ราชบุรี ถึงเพชรบุรีและเกี่ยวข้องไปถึงเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งในส่วนนี้ลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้บันทึกเกี่ยวกับชาวสยามว่า  ชาวลาวกับชา

การปกครองในสมัยอยุธยา

การปกครอง              การจัดการปกครองในสมัยอยุธยาสามารถแบ่งออกได้เป็นสามช่วง คือ ช่วงก่อนการปฏิรูปการปกครองของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (1-1991) ช่วงสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจนถึงสมัยสมเด็จพระเพทราชา (1991-2231) และการปฏิรูปการปกครองของสมเด็จพระเพทราชาเป็นต้นไป (2231-2310) อยุธยาตอนต้น (1893-1991)             มีการปกครองคล้ายคลึงกับในช่วงสุโขทัย ในราชธานี พระมหากษัตริย์มีสิทธิ์ปกครองโดยตรง หากก็ทรงใช้อำนาจผ่านข้าราชการและขุนนางเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีระบบการปกครองภายในราชธานีที่เรียกว่า จตุสดมภ์ ตามการเรียกของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพอันได้แก่ กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง และกรมนา             การปกครองนอกราชธานี ประกอบด้วย เมืองหน้าด่าน เมืองชั้นใน เมืองพระยามหานคร และเมืองประเทศราช โดยมีรูปแบบกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลางค่อนข้างมากเมืองหน้าด่าน ได้แก่ ลพบุรี นครนายก พระประแดง และสุพรรณบุรี ตั้งอยู่รอบราชธานีทั้งสี่ทิศ ระยะเดินทางจากราชธานีสองวัน พระมหากษัตริย์ทรงส่งเชื้อพระวงศ์ที่ไว้วางพระทัยไปปกครอง หากก็นำมาซึ่งปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติอยู่บ่อยครั้ง เมืองชั้นในทรงปกครองโดย

พระราชวงศ์ในสมัยอยุธยา

รูปภาพ
พระราชวงศ์ ราชวงศ์กษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา ประกอบด้วย 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง มีกษัตริย์ 3 พระองค์ ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ 13 พระองค์ ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ 7 พระองค์ ราชวงศ์ปราสาททอง มีกษัตริย์ 4 พระองค์ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ 6 องค์ ซึ่งรวมเป็นกษัตริย์รวม 34 (นับรวมขุนวรวงศาธิราช ) พระองค์ ซึ่งถือว่ามีมาก ซึ่ง อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2310 เป็นเวลายาวนานถึง 417 ปีเลยทีเดียว

การกอบกู้เอกราชในสมัยอยุธยา

รูปภาพ
การกอบกู้เอกราชครั้งที่ 1 คราวเสียกรุงครั้งที่ 1 พม่าได้ราชาภิเษก พระมหาธรรมราชาธิราช(ขุนพิเรนทรเทพ) เป็นพระเจ้าแผ่นดินอยุธยา ข้าขอบขัณฑสีมาของกรุงหงสาวดี  ต่อมาพระนเรศ พระราชโอรสในสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ (พระมหาธรรมราชาธิราช-ขุนพิเรนทรเทพ) ทรงเสด็จหนีออกจากพม่าได้และประกาศเอกราช ครั้งนั้นพระบรมชนกนาถยังคงมีพระชนมชีพอยู่ การกอบกู้เอกราชนั้นมากระทำในสมัยพระนเรศ ได้รับพระราชบัณฑูรเป็นสมเด็จพระมหาอุปราช ประทับ ณ พระราชวังจันทรฯ(วังหน้า) ฉะนั้นพระวีรกรร มในคราวกอบกู้เอกราชจริงๆนั้น สมเด็จพระนเรศวรราชาธิราช จึงยังอยู่ในพระฐานะรัชทายาททั้งสิ้น และถือได้ว่าพระองค์คือพระมหากษัตริย์ไทยที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทย การกอบกู้เอกราชครั้งที่ 2 ครั้นต่อมา พระ ยาวชิรปราการได้รวบรวมชุมนุมทั้งหมดที่เมืองจันทร์ แล้วได้ขับไล่พม่า และสามารถกอบกู้เอกราชครั้งที่ 2 ได้สำเร็จในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 จากนั้นในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 พระยาวชิรปราการได้ทำพิธีปราบดาภิเษกทำนองเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา (แต่นักประวัติศาสตร์นับเป็นสมัยธนบุรี) เฉลิมพระนามว่า "สมเด็จพระบรมรา

รายพระนามพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา

รายพระนามพระมหากษัตริย์ ลำดับ พระนาม พระราชสมภพ เริ่มครองราชย์ สิ้นรัชกาล สวรรคต รวมปีครองราชย์ ราชวงศ์อู่ทอง  (ครั้งที่ 1) 1 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) พ.ศ. 1855 พ.ศ. 1893 พ.ศ. 1912 20 ปี 2 (1) สมเด็จพระราเมศวร พ.ศ. 1885 พ.ศ. 1912 พ.ศ. 1913 พ.ศ. 1938 ไม่ถึง 1 ปี ราชวงศ์สุพรรณภูมิ  (ครั้งที่ 1) 3 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พ.ศ. 1853 พ.ศ. 1913 พ.ศ. 1931 18 ปี 4 สมเด็จพระเจ้าทองลัน (เจ้าทองจันทร์) พ.ศ. 1917 พ.ศ. 1931 7 วัน ราชวงศ์อู่ทอง  (ครั้งที่ 2) 2 (2) สมเด็จพระราเมศวร พ.ศ. 1885 พ.ศ. 1931 พ.ศ. 1938 7 ปี 5 สมเด็จพระรามราชาธิราช พ.ศ. 1899 พ.ศ. 1938 พ.ศ. 1952 ? 15 ปี ราชวงศ์สุพรรณภูมิ  (ครั้งที่ 2) 6 สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) พ.ศ. 1902 พ.ศ. 1952 พ.ศ. 1967 15 ปี 7 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) พ.ศ. 1929 พ.ศ. 1967 พ.ศ. 1991 24 ปี 8 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. 1974 พ.ศ. 1991 พ.ศ. 2031 40 ปี 9 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พ.ศ. 2005 พ.ศ. 2031 พ.ศ. 2034 3 ปี 10 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พ.ศ. 2015 พ.ศ. 2034 พ.ศ. 2072 38 ปี 11

ความเป็นมาของอยุธยา

รูปภาพ
ประวัติ จุดเริ่มต้น ชาวไทยเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลาง และตอนล่างของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 แล้ว ทั้งยังเคยเป็นที่ตั้งของเมืองสังขบุรี อโยธยา เสนาราชนคร และกัมโพชนคร ต่อมา ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรขอมและสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง พระเจ้าอู่ทองทรงดำริจะย้ายเมืองและพิจารณาชัยภูมิเพื่อตั้งอาณาจักรใหม่ และตัดสินพระทัยสร้างราชธานีแห่งใหม่บริเวณตำบลหนองโสน (บึงพระราม)  และสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จุลศักราช 712 ตรงกับวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893 (พ.ศ.นี้เทียบจาก จ.ศ. แต่จะตรงกับ ค.ศ. 1351) ชื่อว่า  กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดี ศรีอยุธยา มหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานี บุรีรมย์อุดมมหาสถาน  ประวัติศาสตร์บางแห่งระบุว่าเกิดโรคระบาดขึ้น พระเจ้าอู่ทองจึงทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงศรีอยุธยา การขยายดินแดน กรุงศรีอยุธยาดำเนินนโยบายขยายอาณาจักรด้วย 2 วิธีคือ ใช้กำลังปราบปราม ซึ่งเห็นได้จากชัยชนะในการยึดครองเมืองนครธม (พระนคร) ได้อย่างเด็ดขาดในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 และอีกวิธีหนึ่งคือ การสร้างความสัมพันธ์แบบเครือญาติ อัน